วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ประเภทของระบบเครือข่าย

การจำแนกประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้คือ
1. การจำแนกระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ตามขนาดทางกายภา
–ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network :LAN)

เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระยะใกล้ คือ ใช้เชื่อมต่อกันในบริเวณที่จำกัด เช่น ภายในห้องเดียวกัน หรือภายในอาคารเดียวกัน นับเป็นรากฐานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วไป กล่าวคือเกือบทุกๆ เครือข่ายต้องมี LAN เป็นองค์ประกอบเทคโนโลยี LAN มีหลายประเภท เช่น Ethernet ,ATM
Token Ring, FDDI แต่ที่นิยมมากที่สุดคือ Ethernet ซึ่งใน Ethernet เองยังจำแนกออกได้หลายประเภทย่อย ขึ้นอยู่กับความเร็ว โทโปโลยี และประเภทสายนำสัญญาณที่ใช้ เทคโนโลยี LAN มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน การเลือกใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ควรใช้ให้เหมาะกับลักษณะการใช้งานเครือข่ายขององค์กร

–ระบบเครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network :MAN)

เป็นเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่กว่าเครือข่าย LAN ครอบคลุมพื้นที่ในเขตอำเภอ หรือจังหวัดเดียวกัน โดยอาจเป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ขององค์กรเข้าด้วยกัน เช่น การต่อคอมพิวเตอร์ของสาขาต่างๆ ในเขตเมือง เพื่อสื่อสารแบ่งปันข้อมูลระหว่างกันในองค์กร การส่งข้อมูลของเครือข่าย MAN จะขึ้นอยู่กับช่องทางการสื่อสารที่อาจมีความเร็วปานกลางจนถึงความเร็วสูง ระบบการส่งข้อมูลที่ใช้ในระบบ MAN นั้นมีทั้งแบบใช้สายสัญญาณและแบบไม่ใช้สายสัญญาณ แต่จะใช้คลื่นไมโครเวฟ หรือคลื่นวิทยุแทนก็ได้

–ระบบเครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network : WAN)

เป็นเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่ ครอบคลุมบริเวณกว้าง โดยจะนำเครือข่าย LAN ตั้งแต่สองเครือข่ายมาต่อกัน โดยใช้สายส่งข้อมูลความเร็วสูงครอบคลุมพื้นที่วงกว้าง เช่นบริษัทที่มีเครือข่ายอยู่หลายจังหวัดต้องการสื่อสารข้อมูลเข้าด้วยกัน เครือข่ายที่มีการสื่อสารระหว่างเมืองหลวง หรือข้ามพรมแดนประเทศ สำหรับวิธีการเชื่อมโยงสัญญาณอาจทำได้โดยใช้สายเคเบิล ไมโครเวฟ หรือดาวเทียม เพื่อเชื่อมโยงกันให้เป็นบริเวณกว้าง สำหรับระบบ WAN ที่ครอบคลุมพื้นที่ไปทั่วโลกก็คือเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั่นเอง

2. การจำแนกระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ตามหน้าที่การทำงานในเครือข่าย
–ระบบเครือข่ายแบบพึ่งพาเครื่องบริการ (Server Based Network หรือ Client-Server )

เครือข่ายนี้ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย มีการแบ่งแยกน้าที่ของคอมพิวเตอร์อย่างชัดเจน ในระบบนี้จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง เรียกว่าเครื่องเซิร์ฟเวอร์ (Server) ซึ่งทำหน้าที่ให้บริการต่างๆ เช่น เป็นศูนย์กลางในการจัดเก็บข้อมูลไฟล์ หรือโปรแกรมต่างๆ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับทรัพยากรให้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่เป็นลูกข่าย เรียกว่า เครื่องไคลเอนด์ (Client) เครือข่ายนี้แบบนี้เหมาะสำหรับการเชื่อมต่อจำนวนมาก

–ระบบเครือข่ายแบบเท่าเทียมกัน (Peer to Peer Network)

ข้อจำกัดของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ข้อจำกัดของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1. ลงทุนสูงและจัดการยุ่งยาก การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการจัดการระบบเครือข่าย ต้องใช้เทคโนโลยีที่ยุ่งยากซับซ้อน ต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ความชำนาญ และมีประสบการณ์สูง จึงต้องใช้งบประมาณ การเริ่มต้นลงทุนสูงมาก อีกทั้งเทคโนโลยีของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก จำเป็นต้องมีงบประมาณ เพื่อปรับปรุงระบบให้ทันสมัยอยู่เสมอ
2. การแบ่งทรัพยากรกันใช้นั้นอาจไม่สามารถใช้ทรัพยากรนั้นๆ ได้ทันทีทันใด เพราะหากมีการเรียกใช้ทรัพยากรเดียวกันจากคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องพร้อมกัน เช่น การใช้เครื่องพิมพ์โดยเครื่องพิมพ์นั้นมีการใช้งานจากคอมพิวเตอร์ตัวอื่นอยู่ก่อนหน้าแล้ว งานพิมพ์ของเราก็จะต้องเข้าคิวรอการทำงาน
3. ขาดแคลนซอฟต์แวร์ประยุกต์ ระบบเครือข่ายปัจจุบัน ยังขาดแคลนซอฟต์แวร์ประยุกต์ ด้านต่าง ๆ ทำงานภายใต้สภาพแวดล้อม แบบเครือข่ายอยู่มาก เพราะการพัฒนา ต้องใช้ความรู้ความชำนาญสูง ต้องใช้เวลาในการพัฒนา จึงจะสามารถสร้างซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้งานด้านต่าง ๆ ได้
4. การรักษาความปลอดภัย ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ยังขาดความปลอดภัยในด้านการรักษาข้อมูลอยู่มาก มีโอกาสที่จะถูกผู้อื่นแอบเข้ามาเอาข้อมูลได้จากหลาย ๆที่ หรืออาจมีข้อมูลสูญหายได้ ในขณะติดต่อสื่อสาร เนื่องจากมีข่าวสารในระบบอยู่มาก
5. ความเร็วในการรับส่งข้อมูลต่ำ ในระบบเครือข่ายระยะไกล เช่น อินเทอร์เน็ต การเรียกใช้ข้อมูลในไฟล์ผ่านระบบเครื่อข่ายนั้นจะมีความเร็วที่ช้ากว่าการเรียกใช้ข้อมูลกับฮาร์ดดิสก์ในเครื่องของตน ตัวกลางนำที่ใช้ ในการนำสัญญาณ ยังมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลต่ำ เมื่อเทียบกับการสื่อสารด้วยโทรศัพท์ หรือโทรทัศน์ โดยเฉพาะข้อมูลที่เป็นภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว เพราะไฟล์มีขนาดใหญ่มาก


ข้อเสียของระบบ Wireless LAN
1. มีอัตราการลดทอนสัญญาณสูง นั่นหมายความว่า “ส่งสัญญาณได้ระยะสั้น ”
2. มีสัญญาณรบกวนสูง
3. ต้องแชร์กันใช้ช่องสัญญาณคลื่นความถี่เดียวกัน
4. ยังมี หลายมาตรฐาน ตามผู้ผลิต แต่ละราย ทำให้มีปัญหาในการใช้งานร่วมกัน
5. ราคาแพงกว่าระบบเครือข่ายแบบมีสาย
6. มีความเร็วไม่สูงมากนัก

อ้างอิง : http://admin.srp.ac.th/moodledata/35/moddata/assignment/50/1492/sirimon_Chanthong_60932.doc

ประโยชน์ของระบบเครือข่าย

การประยุกต์ใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างกว้างขวางและสามารถใช้ประโยชน์ได้มากมาย ทั้งนี้เพราะระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และสื่อสารข้อมูลระหว่างกันได้
ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีดังนี้
1. การใช้อุปกรณ์หรือทรัพยากร ร่วมกัน (Sharing of peripheral devices) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ใช้ สามารถใช้อุปกรณ์ รอบข้างที่ต่อพ่วงกับระบบคอมพิวเตอร์ ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเครื่องพิมพ์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม สแกนเนอร์ โมเด็ม เป็นต้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ที่มีราคาแพง เชื่อมต่อพ่วงให้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง
2. การใช้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกัน (Sharing of program and data) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรม และข้อมูลร่วมกันได้ โดยจัดเก็บโปรแกรมไว้แหล่งเก็บข้อมูล ที่เป็นศูนย์กลาง เช่น ที่ฮาร์ดดิสก์ของเครื่อง File Server ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมร่วมกัน ได้จากแหล่งเดียวกัน ไม่ต้องเก็บโปรแกรมไว้ในแต่ละเครื่อง ให้ซ้ำซ้อนกัน นอกจากนั้นยังสามารถรวบรวม ข้อมูลต่าง ๆ จัดเก็บเป็นฐานข้อมูล ผู้ใช้สามารถใช้สารสนเทศ จากฐานข้อมูลกลาง ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร ์ที่ใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย โดยไม่ต้องเดินทางไปสำเนาข้อมูลด้วยตนเอง เพราะใช้การเรียกใช้ข้อมูล ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั่นเอง เครื่องลูก (Client) สามารถเข้ามาใช้ โปรแกรม ข้อมูล ร่วมกันได้จากเครื่องแม่ (Server) หรือระหว่างเครื่องลูกกับเครื่องลูกก็ได้ เป็นการประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บโปรแกรม ไม่จำเป็นว่าทุกเครื่องต้องมีโปรแกรมเดียวกันนี้ในเครื่องของตนเอง
3. สามารถติดต่อสื่อสารระยะไกลได้ (Telecommunication) การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เป็นเครือข่าย ทั้งประเภทเครือข่าย LAN , MAN และ WAN ทำให้คอมพิวเตอร์ สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูล ระยะไกลได ้โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ทางด้านการติดต่อสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการให้บริการต่าง ๆ มากมาย เช่น การโอนย้ายไฟล์ข้อมูล การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) การสืบค้นข้อมูล (Serach Engine) เป็นต้น
4. สามารถประยุกต์ใช้ในงานด้านธุรกิจได้ (ฺBusiness Applicability) องค์กรธุรกิจ มีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ เช่น เครือข่ายของธุรกิจธนาคาร ธุรกิจการบิน ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจหลักทรัพย์ สามารถดำเนินธุรกิจ ได้อย่างรวดเร็ว ตอบสนองความพึงพอใจ ให้แก่ลูกค้าในปัจจุบัน เริ่มมีการใช้ประโยชน์จากเครือข่าย Internet เพื่อทำธุรกิจกันแล้ว เช่นการสั่งซื้อสินค้า การจ่ายเงินผ่านระบบธนาคาร เป็นต้น
5. ความประหยัด นับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า อย่างเช่นในสำนักงานหนึ่งมีเครื่องอยู่ 30 เครื่อง หรือมากกว่านี้ ถ้าไม่มีการนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้ จะเห็นว่าต้องใช้เครื่องพิมพ์อย่างน้อย 5 - 10 เครื่อง มาใช้งาน แต่ถ้ามีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้แล้วละก้อ ก็สามารถใช้อุปกรณ์ หรือเครื่องพิมพ์ประมาณ 2-3 เครื่องก็พอต่อการใช้งานแล้ว เพราะว่าทุกเครื่องสามารถเข้าใช้เครื่องพิมพ์เครื่องใดก็ได้ ผ่านเครื่องอื่น ๆ ที่ในระบบเครือข่ายเดียวกัน
6. ความเชื่อถือได้ของระบบงาน นับเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจ ถ้าทำงานได้เร็วแต่ขาดความน่าเชื่อถือก็ถือว่าใช้ไม่ได้ ไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นเมื่อนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มาใช้งาน ทำระบบงานมีประสิทธิภาพ มีความน่าเชื่อถือของข้อมูล เพราะจะมีการทำสำรองข้อมูลไว้ เมื่อเครื่องที่ใช้งานเกิดมีปัญหา ก็สามารถนำข้อมูลที่มีการสำรองมาใช้ได้ อย่างทันที
อ้างอิง http://blog.eduzones.com/banny/3478

วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ศัพท์เทคโนโลยี


DIGITAL LIBRARY ประมวลศัพท์คอมพิวเตอร์กิดานันท์ มลิทอง. อธิบายศัพท์คอมพิวเตอร์อินเทอร์เนตมัลติมีเดีย. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร, 2539

[A] [B] [C] [D] [E] [F] [G] [H] [I] [J] [K] [L] [M] [N] [O] [P] [Q] [R] [S]
[T] [U] [V] [W] [X] [Y] [Z]

HOME

Powered by Samorn Tarapan Copyright 2002. All Rights Reserved.

วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ระบบ 3G

ระบบ 3G คืออะไร / เทคโนโลยี 3G หมายถึง / ความเร็ว 3G

เทคโนโลยี 3G พัฒนามาจากอะไร ระบบ 3G คืออะไร และมี ความเร็ว เท่าไรระบบ 3G ( UMTS ) นั้นคือการนำเอาข้อดีของ ระบบ CDMA มาปรับใช้กับ GSM เรียกว่า W-CDMA ซึ่งถูกพัฒนาโดยบริษัท NTT DoCoMo ของญี่ปุ่นสำหรับเมืองไทยนั้น ระบบ 3G จะเป็น เทคโนโลยีแบบ HSPA ซึ่งแยกย่อยได้เป็น HSDPA , HSUPA และ HSPA+HSDPAนั้นจะสามารถ รับส่งข้อมูลได้สูงสุดที่ Download 14.4 Mbps / Upload 384 Kbps. ( ปัจจุบันผู้ให้บริการทั่วโลกยังให้บริการอยู่ที่ Download 7.2Mbps เท่านั้น )HSUPAจะเหมือนกับ HSDPA ทุกอย่างแต่การ Upload ข้อมูลจะวิ่งที่ความเร็วสูงสุด 5.76 Mbps HSPA+ เป็นระบบในอนาคต การ Download ข้อมูลจะอยู่ที่ 42 Mbps / Upload 22 Mbpsสำหรับในเมืองไทยนั้น ระบบ 3G ( HSPA ) ที่ Operator AIS หรือ DTAC นำมาใช้จะเป็น HSDPA โดยการ Download จะอยู่ที่ 7.2Mbps ซึ่งน่าจะได้ใช้กันในไม่ช้าข้อควรระวังในการเลือกซื้อ AirCard แบบที่รองรับ 3G คลื่นความถี่ 3G ที่ใช้กันทั่วโลก จะใช้อยู่ 3 ความถี่ที่เป็นมาตราฐานคือ 850 , 1900 และ 2100 ซึ่งเมืองไทยจะแบ่งเป็นดังนี้ คลื่นความถี่ ( band ) 850 จะถูกพัฒนาโดย Dtac และ Trueคลื่นความถี่ ( band ) 900 จะถูกพัฒนาโดย AIS (ใช้ชั่วคราวที่เชียงใหม่ และ Central World)คลื่นความถี่ ( band ) 2100 กำลังรอ กทช. ทำการประมูลเพื่อจัดสรรคลื่นความถี่คลื่นความถี่ ( band ) 1900 จะถูกพัฒนาโดย TOTดังนั้นการเลือกซื้อ AirCard , Router หรือ โทรศัพท์มือถือ และต้องการให้รอบรับ 3G ควร check ให้ดีก่อนว่าสามารถรองรับได้ทั้ง 3 คลื่นหรือเพียงบางคลื่นเท่านั้น

บทความโดย AirCardShop.com 17 เมษายน 2552, 23:49 ข้อมูล AirCard

การสื่อสารข้อมูล (Data Communication)

การสื่อสารข้อมูล (Data Communications)
หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
วิธีการส่งข้อมูล จะแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณ หรือรหัสเสียก่อนแล้วจึงส่งไปยังผู้รับ และเมื่อถึงปลายทางหรือผู้รับก็จะต้องมีการแปลงสัญญาณนั้น กลับมาให้อยู่ในรูปที่มนุษย์ สามารถที่จะเข้าใจได้ ในระหว่างการส่งอาจจะมีอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นก็คือ สิ่งรบกวน (Noise) จากภายนอกทำให้ข้อมูลบางส่วนเสียหาย หรือผิดเพี้ยนไปได้ซึ่งระยะทางก็มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้วยเพราะถ้าระยะทางในการส่งยิ่งมากก็อาจจะทำให้เกิดสิ่งรบกวนได้มากเช่นกัน จึงต้องมีหาวิธีลดสิ่งรบกวน เหล่านี้ โดยการพัฒนาตัวกลางในการสื่อสารที่จะทำให้เกิดการรบกวนน้อยที่สุด
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบ
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้ 1. ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน 2. ผู้รับข่าวสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใด ที่การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือ จุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง
3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง 4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่าง ผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้ 5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน 6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์ มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้ วงจรกรอง (filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น
ข่ายการสื่อสารข้อมูล หมายถึง การรับส่งข้อมูลหรือสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยระบบการส่งข้อมูล ทางคลื่นไฟฟ้าหรือแสง อุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปเรียกว่า ข่ายการสื่อสารข้อมูล (Data Communication Networks)
องค์ประกอบพื้นฐาน
หน่วยส่งข้อมูล (Sending Unit)
ช่องทางการส่งข้อมูล (Transmisstion Channel)
หน่วยรับข้อมูล (Receiving Unit)
วัตถุประสงค์หลักของการนำการสื่อการข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในองค์การประกอบด้วย
เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล
เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
เพื่อลดเวลาการทำงาน
เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร
เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ
เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การ
ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล 1) การจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้รวดเร็ว การจัดเก็บซึ่อยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจัดเก็บไว้ในแผ่นบันทึกที่มีความหนาแน่นสูงแผ่นบันทึกแผ่นหนึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกกว่า 1 ล้านตัวอักษร สำหรับการสื่อสารข้อมูลนั้น ถ้าข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ในอัตรา 120 ตัวอักษรต่อวินาทีแล้ว จะส่งข้อมูล 200 หน้าได้ในเวลา 40 นาที โดยไม่ต้องเสียเวลานั่งป้อนข้อมูลเหล่านั้นซ้ำใหม่อีก 2) ความถูกต้องของข้อมูล โดยปกติวิธีส่งข้อมูลด้วยสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งด้วยระบบดิจิตอล วิธีการส่งข้อมูลนั้นมีการตรวจสอบสภาพของข้อมูล หากข้อมูลผิดพลาดก็จะมีการรับรู้ และพยายามหาวิธีแก้ไขให้ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้อง โดยอาจให้ทำการส่งใหม่ หรือกรณีที่ผิดพลาดไม่มากนัก ฝ่ายผู้รับอาจใช้โปรแกรมของตนแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องได้ 3) ความเร็วของการทำงาน โดยปกติสัญญาณทางไฟฟ้าจะเดินทางด้วยความเร็วเท่าแสง ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลจากซีกโลกหนึ่ง ไปยังอีกซีกโลกหนึ่ง หรือค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถทำได้รวดเร็ว ความรวดเร็วของระบบทำให้ผู้ใช้สะดวกสบายยิ่งขึ้น เช่น บริษัทสายการบินทุกแห่งสามารถทราบข้อมูลของทุกเที่ยวบินได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การจองที่นั่งของสายการบินสามารถทำได้ทันที 4) ต้นทุนประหยัด การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าหากันเป็นเครือข่าย เพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูล ทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลประหยัดขึ้น เมื่อเทียบกับการจัดส่งแบบวิธีอื่น สามารถส่งข้อมูลให้กันและกันผ่านทางสายโทรศัพท์ได้

กลับเมนูหลัก

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ผศ.นพ.นพดล ศิริธนารัตนกุล์
มะเร็งนั้นเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ทุกส่วนของร่างกาย เพราะอวัยวะของเรานั้นประกอบไปด้วยเซลล์มากมายรวมกันขึ้นเป็นเซลล์ชนิดต่าง ๆ และการเจริญเติบโตของมะเร็งก็จะเป็นแบบเซลล์ที่ผิดปกติ คือการเจริญเติบโตที่เร็วเกินไปจนกลายเป็นก้อนเนื้อ นอกจากนั้นโรคมะเร็งยังเกิดขึ้นได้กับทุกอวัยวะ โรคมะเร็งยังสามารถเกิดขึนในเม็ดเลือดที่อยู่ในร่างกายของเราได้ทีกด้วย และท่านก็คงได้ยินในเรื่องของมะเร็งเม็ดเลือดขาวกันบ้างแล้วนะ ซึ่งเม็ดเลือดขาวของเรานั้นก็จะมีหน้าที่ช่วยทำลายเชื้อโรคและสารแปลกปลอมต่างๆ ที่เข้าสู่ร่างกายหรือกล่าวง่าย ๆ ว่า เม็ดเลือดขาวจะช่วยสร้างความต้านทานให้กับร่างกายของเราแต่ถ้าเม็ดเลือดขาวไม่สามารถที่จะทำหน้าที่ของตนเองได้ก็จะเกิดผลกระทบต่อร่างกายของเราได้อย่างแน่นอน
โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวหมายถึงโรคอะไร ก็เป็นกลุ่มโรคที่เม็ดเลือดขาวตัวอ่อนมีการแบ่งตัวอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้สะสมอยู่ในไขกระดูกแล้วก็ออกมาในการแตกเลือดก็ไปเบียดยังอวัยวะต่าง ๆ ทำให้การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ทำงานผิดปกติไปเกิดจากการที่มีเม็ดเลือดขาวมากเกินไป
โรคนี้เป็นมาตั้งแต่เกิดหรือไม่ หรือเกิดภายหลังที่เราเกิดขึ้นแล้ว โรคนี้มักจะมาเป็นภายหลัง หลังจากที่เราคลอดออกมาแล้ว แต่เราสามารถจะพบได้ในบางรายที่เป็นตั้งแต่คลอดออกมา แต่โดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นภายหลัง
สาเหตุที่สำคัญที่ก่อให้เกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวนั้นมีสาเหตุอะไร หรือมีปัจจัยอะไรที่ทำให้เกิดโรคนี้ขึ้นมา ในปัจจุบันสาเหตุที่แท้จริงเรายังไม่ทราบ แต่มีปัจจัยส่งเสริมบางอย่าง เช่น โรคทางพันธุ์กรรมบางโรค เช่น ดาวซินโดรม Down's syndrome การแพร่รังสีเพราะเราเจอคนไข้มากขึ้นหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 มีระเบิดปรมาณู นอกจากนั้นยังมีสารเบนซินพวกนี้ก็จะมีกลุ่มปัจจัยเสริมทำให้พบได้ง่ายขึ้น และมีการติดเชื้อบางอย่างด้วย เช่น เชื้อไวรัสบางอย่าง
ในเรื่องถ่ายทอดทางพันธุ์กรรมจะมีส่วนด้วยไหม เราพบว่าโรคพันธุ์กรรมบางอย่างการมีอุบัติการณ์ของมะเร็งเม็ดเลือดขาวสูงกว่าคนธรรมดาทั่วไปนั่น คือ สาเหตุส่งเสริมที่ทำให้เกิดเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวไม่ว่าในเรื่องของรังสี สารพิษต่าง ๆ
ในปัจจุบันนี้มีผู้ป่วยมาพบหมอมากน้อยแค่ไหน และมีผู้ป่วยมารักษามากน้อยแค่ไหน และมีจำนวนมากขึ้นไหม ในปัจจุบันนี้เราพบว่ามีผู้ป่วยเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวมากขึ้น เฉพาะที่ศิริราชเราปีที่แล้วมีผู้ป่วยใหม่ 200 รายในรอบ 1 ปี และมะเร็งเม็ดเลือดขาวจัดได้ว่าพบได้บ่อยใน 10 อันดับแรกของมะเร็ง
ในกลุ่มที่ป่วยจะมีเพศใด วัยใดมากที่สุด อันนี้ไม่เลือกเพศมีทั้งเพศหญิงชาย มีสิทธิเท่า ๆ กัน และเรื่องของวัยผู้ป่วยที่เราดูแลก็จะพบตั้งแต่อายุ 15 ปีขึ้นไป ถึง 60 ปี โดยที่ไม่มีช่วงใดช่วงหนึ่งเป็นได้พิเศษ
วิธีการสังเกตลักษณะอาการผิดปกติ ถ้าผู้ป่วยมีปัญกาเกี่ยวกับเรื่องของโรคมะเร็งจะมีลักษณะอาการผิดปกติอย่างไรบ้างที่บ่งบอกอาการ เราคงแบ่งอาการง่าย ๆ ได้ 4 อย่าง หรือ 4 กลุ่ม ดังนี้ 1. อาการแรกที่เป็น คือ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ซีด อ่อนเพลียง่าย อันนี้เป็นลักษณะเดิมทั่วไปทั้งหลาย 2. มีเลือดออกง่าย เพราะมะเร็งเม็ดเลือดขาวจะมีเกร็ดเลือดต่ำ จึงทำให้เลือดออกง่าย เช่น ออกตามไรฟัน มีจ่ำเขียวขึ้นบนตามตัว หรือมีประจำเดือนมากผิดปกติ 3. มีเม็ดเลือดขาวปริมาณมากแต่ทำหน้าที่ไม่ได้ตามเท่าที่จะเป็น เฉพาะเม็ดเลือดขาวมีหน้าที่ต่อ สู้กับเชื้อโรค แต่เมื่อเป็นอย่างนี้ก็ต่อสู้เชื้อโรคไม่ได้ ก็มีการติดเชื้อง่ายมีไข้ มีการติดเชื้อในตำแหน่งต่าง ๆ 4. เม็ดเลือดขาวไปบีบบังอวัยวะต่าง ๆ หรือสะสมอยู่ ก็ทำให้มีก้อนขึ้นที่ขาหนีบ ต่อมน้ำเหลือง ขา คอ หรือมีตับ ม้ามโต เราจะมีการตรวจ และวินิจฉัยโรคอย่างไรบ้างให้เราทราบอย่างชัดเจนว่าเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ขั้นแรก เราต้องเจาะเลือดตรวจว่ามีความผิดปกติ แล้วก็พบเซลล์เม็ดเลือดตัวอ่อนของเม็ดเลือดขาวต่อไปเราก็จะทำการยืนยันโดยการเจาะไขกระดูก เพื่อดูให้ชัดเจนอีกครั้งว่ามีการขยายตัวในไขกระดูกจริง วิธีการรักษาในปัจจุบันว่าถ้าเราเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวแล้วจะมีวิธีการรักษาอย่างไร วิธีแรกที่เราจะรักษา คือ การให้ยาเคมีบำบัด ซึ่งจะให้เป็นชุด ๆ ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานพอสมควร บางทีอาจจะใช้เวลา 1-2 ปีเป็นอย่างน้อย ในปัจจุบันก็จะมีวิธีใหม่มารักษา วิธีที่ 2 คือการปลูกถ่ายในไขกระดูก เราก็ทำได้แล้วแต่วิธีนี้ค่อนข้างยุ่งยากอยู่มีค่าใช้จ่ายสูงและมีโรคแทรกซ้อนสูงพอสมควร และต้องใช้ไขกระดูกของพี่น้องที่เข้ากันได้อีก ฉะนั้นการรักษาวิธีที่ 2 ต้องพิจารณาเป็นราย ๆ ไป ซึ่งหลักใหญ่ในการรักษาก็จะมี 2 วิธีที่กล่าวมาแล้ว ในการรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวจะมีการรักษาให้หายขาดได้ไหม ในปัจจุบันมีความก้าวหน้าของยาเคมีบำบัด และการปลูกถ่ายไขกระดูกมีความก้าวหน้า เพราะฉะนั้นจัดได้ว่ามะเร็งเม็ดเลือดขาวมีวิธีการรักษาให้หายขาดได้ โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ขวบ อัดราการรักษาให้หายขาดค่อนข้างสูง คงขึ้นอยู่กับการมาพบแพทย์รักษาอย่างรวดเร็วและมาพบตั้งแต่เริ่มต้น มีบางกลุ่มที่ไม่ทราบและปล่อยปละละเลยให้อาการเป็นมากขึ้น อันตรายจากโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวมีมากน้อยแค่ไหนหรือจะทำให้ผู้ป่วยถึงตายได้ ถ้าเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวอย่างเฉียบพลันแล้วไม่ได้รักษาโดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะเสียชีวิตใน 3-4 เดือน ในการเสียชีวิตนั้นมีการติดเชื้อง่าย และการติดเชื้อนั้นมีการลุกลามไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อีกกรณีหนึ่งก็คือมีเลือดออก เช่น มีเลือดออกจากสมองอาจทำให้ผู้ป่วยถึงแก่กรรมได้ย่างรวดเร็ว ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง พวกนี้อาการจะค่อยดำเนิน ค่อยเป็นค่อยไป อาจจะเริ่มจาก 6-8 เดือน หลังจากนั้นอวัยวะต่าง ๆ ก็จะเริ่มเสื่อมลง ก็จะเกิดปัญหารุนแรงตามมาอีก เพราะฉะนั้นเราควรดูแลรักษากัน เพราะโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเป็นโรคหนึ่งที่ร้ายแรงและอันตราย ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวนั้นจะมีวิธีดูแลหรือปฎิบัติตัวเองอย่างไร เรื่องแรกคือ การดูแลสุขอนามัยส่วนตัว เพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีการติดเชื้อได้ง่าย และการดูแลรักษาความสะอาดส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเป็นเรื่องสำคัญ ที่เราพบบ่อยคือสุขภาพปาก ฟัน อันนี้เป็นช่องทางทำให้ติดเชื้อกันง่าย ควรใช้แปรงขนอ่อนนุ่มเป็นพิเศษ ซึ่งพวกนี้จะราคาแพงแต่จะทำให้มีแผลในปากน้อย และจะช่วยลดการติดเชื้อเป็นอย่างดี การรับประทานอาหาร ผัก ผลไม้ มาก ๆ จะช่วยในการขับถ่ายอุจจาระไปได้ด้วยดีไม่ท้องผูกอาจจะมีแผลที่ทวารเป็นที่หนึ่งของการติดเชื้อได้ง่าย และการดื่มน้ำมาก ๆ ก็จะช่วยได้มากเพราะพวกนี้จะมีการแตกสลายในเม็ดเลือดเป็นจำนวนมากและมีการสะสมสารบางอย่างในร่างกายทำให้เกิดการอุดตันเพราะฉะนั้นทานน้ำมาก ๆ ก็จะช่วยขับถ่ายได้เป้นอย่างดี อีกอย่างคือการซื้อยาแก้ปวดแก้ไข้ทานเอง อันนี้จะเป็นอันตรายเสริมในกรณีที่ได้ยาผิดประเภทไป คนไข้กลุ่มนี้ต้องอยู่ในการควบคุมดูแลของแพทย์ การดูแลให้เหมาะสม สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว 1. พักผ่อนให้เพียงพอ 2. ดื่มน้ำมากๆ 3. รักษาความสะอาดของร่างกาย 4. รับประทานอาหารทีมีประโยชน์ คุณค่าต่อร่างกาย 5. รักษาสุขภาพร่างกายอย่าให้มีโรคแทรกซ้อนมาภายหลัง แนวทางการป้องกันโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวจะมีการป้องกันได้หรือไม่อย่างไรบ้าง เนื่องจากเรายังไม่ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริง แต่เราทราบว่ามีปัจจัยส่งเสริมว่าคือพวกสารเคมีบางอย่างหรือพวกอาหารที่มีสารปรุงแต่งมากเกินไป ช่วงนี้คนส่วนมากนิยมอาหารพวก Fast Food หรืออาหารทีมีการดัดแปลงมีสารเคมี และอันนี้ก็มีการศึกษาและพบว่ามีอุบัติการของมะเร็งไม่ใช้เฉพาะของมะเร็งเม็ดเลือดขาวอย่างเดียว มะเร็งชนิดอื่น ๆ ก็มีอุบัติการณ์สูงขึ้น ถ้าเราลดของพวกนี้ได้ก็จะลดปัจจัยการส่งเสริมมะเร็ง
ข้อแนะนำ ในปัจจุบันสมาคมโรคมะเร็งแห่งอเมริกาได้แนะนำว่า คนทั่วไปควรทานอาหารที่มีผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 5 สุ่ม ซึ่งจะช่วยลดอุบัติการการเกิดมะเร็งไม่ว่าจะเป็นมะเร็งชนิดใดก็คาม

8/8/2548