วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ศัพท์เทคโนโลยี


DIGITAL LIBRARY ประมวลศัพท์คอมพิวเตอร์กิดานันท์ มลิทอง. อธิบายศัพท์คอมพิวเตอร์อินเทอร์เนตมัลติมีเดีย. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร, 2539

[A] [B] [C] [D] [E] [F] [G] [H] [I] [J] [K] [L] [M] [N] [O] [P] [Q] [R] [S]
[T] [U] [V] [W] [X] [Y] [Z]

HOME

Powered by Samorn Tarapan Copyright 2002. All Rights Reserved.

วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ระบบ 3G

ระบบ 3G คืออะไร / เทคโนโลยี 3G หมายถึง / ความเร็ว 3G

เทคโนโลยี 3G พัฒนามาจากอะไร ระบบ 3G คืออะไร และมี ความเร็ว เท่าไรระบบ 3G ( UMTS ) นั้นคือการนำเอาข้อดีของ ระบบ CDMA มาปรับใช้กับ GSM เรียกว่า W-CDMA ซึ่งถูกพัฒนาโดยบริษัท NTT DoCoMo ของญี่ปุ่นสำหรับเมืองไทยนั้น ระบบ 3G จะเป็น เทคโนโลยีแบบ HSPA ซึ่งแยกย่อยได้เป็น HSDPA , HSUPA และ HSPA+HSDPAนั้นจะสามารถ รับส่งข้อมูลได้สูงสุดที่ Download 14.4 Mbps / Upload 384 Kbps. ( ปัจจุบันผู้ให้บริการทั่วโลกยังให้บริการอยู่ที่ Download 7.2Mbps เท่านั้น )HSUPAจะเหมือนกับ HSDPA ทุกอย่างแต่การ Upload ข้อมูลจะวิ่งที่ความเร็วสูงสุด 5.76 Mbps HSPA+ เป็นระบบในอนาคต การ Download ข้อมูลจะอยู่ที่ 42 Mbps / Upload 22 Mbpsสำหรับในเมืองไทยนั้น ระบบ 3G ( HSPA ) ที่ Operator AIS หรือ DTAC นำมาใช้จะเป็น HSDPA โดยการ Download จะอยู่ที่ 7.2Mbps ซึ่งน่าจะได้ใช้กันในไม่ช้าข้อควรระวังในการเลือกซื้อ AirCard แบบที่รองรับ 3G คลื่นความถี่ 3G ที่ใช้กันทั่วโลก จะใช้อยู่ 3 ความถี่ที่เป็นมาตราฐานคือ 850 , 1900 และ 2100 ซึ่งเมืองไทยจะแบ่งเป็นดังนี้ คลื่นความถี่ ( band ) 850 จะถูกพัฒนาโดย Dtac และ Trueคลื่นความถี่ ( band ) 900 จะถูกพัฒนาโดย AIS (ใช้ชั่วคราวที่เชียงใหม่ และ Central World)คลื่นความถี่ ( band ) 2100 กำลังรอ กทช. ทำการประมูลเพื่อจัดสรรคลื่นความถี่คลื่นความถี่ ( band ) 1900 จะถูกพัฒนาโดย TOTดังนั้นการเลือกซื้อ AirCard , Router หรือ โทรศัพท์มือถือ และต้องการให้รอบรับ 3G ควร check ให้ดีก่อนว่าสามารถรองรับได้ทั้ง 3 คลื่นหรือเพียงบางคลื่นเท่านั้น

บทความโดย AirCardShop.com 17 เมษายน 2552, 23:49 ข้อมูล AirCard

การสื่อสารข้อมูล (Data Communication)

การสื่อสารข้อมูล (Data Communications)
หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
วิธีการส่งข้อมูล จะแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณ หรือรหัสเสียก่อนแล้วจึงส่งไปยังผู้รับ และเมื่อถึงปลายทางหรือผู้รับก็จะต้องมีการแปลงสัญญาณนั้น กลับมาให้อยู่ในรูปที่มนุษย์ สามารถที่จะเข้าใจได้ ในระหว่างการส่งอาจจะมีอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นก็คือ สิ่งรบกวน (Noise) จากภายนอกทำให้ข้อมูลบางส่วนเสียหาย หรือผิดเพี้ยนไปได้ซึ่งระยะทางก็มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้วยเพราะถ้าระยะทางในการส่งยิ่งมากก็อาจจะทำให้เกิดสิ่งรบกวนได้มากเช่นกัน จึงต้องมีหาวิธีลดสิ่งรบกวน เหล่านี้ โดยการพัฒนาตัวกลางในการสื่อสารที่จะทำให้เกิดการรบกวนน้อยที่สุด
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบ
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้ 1. ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน 2. ผู้รับข่าวสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใด ที่การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือ จุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง
3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง 4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่าง ผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้ 5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน 6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์ มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้ วงจรกรอง (filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น
ข่ายการสื่อสารข้อมูล หมายถึง การรับส่งข้อมูลหรือสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยระบบการส่งข้อมูล ทางคลื่นไฟฟ้าหรือแสง อุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปเรียกว่า ข่ายการสื่อสารข้อมูล (Data Communication Networks)
องค์ประกอบพื้นฐาน
หน่วยส่งข้อมูล (Sending Unit)
ช่องทางการส่งข้อมูล (Transmisstion Channel)
หน่วยรับข้อมูล (Receiving Unit)
วัตถุประสงค์หลักของการนำการสื่อการข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในองค์การประกอบด้วย
เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล
เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
เพื่อลดเวลาการทำงาน
เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร
เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ
เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การ
ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล 1) การจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้รวดเร็ว การจัดเก็บซึ่อยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจัดเก็บไว้ในแผ่นบันทึกที่มีความหนาแน่นสูงแผ่นบันทึกแผ่นหนึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกกว่า 1 ล้านตัวอักษร สำหรับการสื่อสารข้อมูลนั้น ถ้าข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ในอัตรา 120 ตัวอักษรต่อวินาทีแล้ว จะส่งข้อมูล 200 หน้าได้ในเวลา 40 นาที โดยไม่ต้องเสียเวลานั่งป้อนข้อมูลเหล่านั้นซ้ำใหม่อีก 2) ความถูกต้องของข้อมูล โดยปกติวิธีส่งข้อมูลด้วยสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งด้วยระบบดิจิตอล วิธีการส่งข้อมูลนั้นมีการตรวจสอบสภาพของข้อมูล หากข้อมูลผิดพลาดก็จะมีการรับรู้ และพยายามหาวิธีแก้ไขให้ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้อง โดยอาจให้ทำการส่งใหม่ หรือกรณีที่ผิดพลาดไม่มากนัก ฝ่ายผู้รับอาจใช้โปรแกรมของตนแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องได้ 3) ความเร็วของการทำงาน โดยปกติสัญญาณทางไฟฟ้าจะเดินทางด้วยความเร็วเท่าแสง ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลจากซีกโลกหนึ่ง ไปยังอีกซีกโลกหนึ่ง หรือค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถทำได้รวดเร็ว ความรวดเร็วของระบบทำให้ผู้ใช้สะดวกสบายยิ่งขึ้น เช่น บริษัทสายการบินทุกแห่งสามารถทราบข้อมูลของทุกเที่ยวบินได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การจองที่นั่งของสายการบินสามารถทำได้ทันที 4) ต้นทุนประหยัด การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าหากันเป็นเครือข่าย เพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูล ทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลประหยัดขึ้น เมื่อเทียบกับการจัดส่งแบบวิธีอื่น สามารถส่งข้อมูลให้กันและกันผ่านทางสายโทรศัพท์ได้

กลับเมนูหลัก

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ผศ.นพ.นพดล ศิริธนารัตนกุล์
มะเร็งนั้นเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ทุกส่วนของร่างกาย เพราะอวัยวะของเรานั้นประกอบไปด้วยเซลล์มากมายรวมกันขึ้นเป็นเซลล์ชนิดต่าง ๆ และการเจริญเติบโตของมะเร็งก็จะเป็นแบบเซลล์ที่ผิดปกติ คือการเจริญเติบโตที่เร็วเกินไปจนกลายเป็นก้อนเนื้อ นอกจากนั้นโรคมะเร็งยังเกิดขึ้นได้กับทุกอวัยวะ โรคมะเร็งยังสามารถเกิดขึนในเม็ดเลือดที่อยู่ในร่างกายของเราได้ทีกด้วย และท่านก็คงได้ยินในเรื่องของมะเร็งเม็ดเลือดขาวกันบ้างแล้วนะ ซึ่งเม็ดเลือดขาวของเรานั้นก็จะมีหน้าที่ช่วยทำลายเชื้อโรคและสารแปลกปลอมต่างๆ ที่เข้าสู่ร่างกายหรือกล่าวง่าย ๆ ว่า เม็ดเลือดขาวจะช่วยสร้างความต้านทานให้กับร่างกายของเราแต่ถ้าเม็ดเลือดขาวไม่สามารถที่จะทำหน้าที่ของตนเองได้ก็จะเกิดผลกระทบต่อร่างกายของเราได้อย่างแน่นอน
โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวหมายถึงโรคอะไร ก็เป็นกลุ่มโรคที่เม็ดเลือดขาวตัวอ่อนมีการแบ่งตัวอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้สะสมอยู่ในไขกระดูกแล้วก็ออกมาในการแตกเลือดก็ไปเบียดยังอวัยวะต่าง ๆ ทำให้การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ทำงานผิดปกติไปเกิดจากการที่มีเม็ดเลือดขาวมากเกินไป
โรคนี้เป็นมาตั้งแต่เกิดหรือไม่ หรือเกิดภายหลังที่เราเกิดขึ้นแล้ว โรคนี้มักจะมาเป็นภายหลัง หลังจากที่เราคลอดออกมาแล้ว แต่เราสามารถจะพบได้ในบางรายที่เป็นตั้งแต่คลอดออกมา แต่โดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นภายหลัง
สาเหตุที่สำคัญที่ก่อให้เกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวนั้นมีสาเหตุอะไร หรือมีปัจจัยอะไรที่ทำให้เกิดโรคนี้ขึ้นมา ในปัจจุบันสาเหตุที่แท้จริงเรายังไม่ทราบ แต่มีปัจจัยส่งเสริมบางอย่าง เช่น โรคทางพันธุ์กรรมบางโรค เช่น ดาวซินโดรม Down's syndrome การแพร่รังสีเพราะเราเจอคนไข้มากขึ้นหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 มีระเบิดปรมาณู นอกจากนั้นยังมีสารเบนซินพวกนี้ก็จะมีกลุ่มปัจจัยเสริมทำให้พบได้ง่ายขึ้น และมีการติดเชื้อบางอย่างด้วย เช่น เชื้อไวรัสบางอย่าง
ในเรื่องถ่ายทอดทางพันธุ์กรรมจะมีส่วนด้วยไหม เราพบว่าโรคพันธุ์กรรมบางอย่างการมีอุบัติการณ์ของมะเร็งเม็ดเลือดขาวสูงกว่าคนธรรมดาทั่วไปนั่น คือ สาเหตุส่งเสริมที่ทำให้เกิดเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวไม่ว่าในเรื่องของรังสี สารพิษต่าง ๆ
ในปัจจุบันนี้มีผู้ป่วยมาพบหมอมากน้อยแค่ไหน และมีผู้ป่วยมารักษามากน้อยแค่ไหน และมีจำนวนมากขึ้นไหม ในปัจจุบันนี้เราพบว่ามีผู้ป่วยเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวมากขึ้น เฉพาะที่ศิริราชเราปีที่แล้วมีผู้ป่วยใหม่ 200 รายในรอบ 1 ปี และมะเร็งเม็ดเลือดขาวจัดได้ว่าพบได้บ่อยใน 10 อันดับแรกของมะเร็ง
ในกลุ่มที่ป่วยจะมีเพศใด วัยใดมากที่สุด อันนี้ไม่เลือกเพศมีทั้งเพศหญิงชาย มีสิทธิเท่า ๆ กัน และเรื่องของวัยผู้ป่วยที่เราดูแลก็จะพบตั้งแต่อายุ 15 ปีขึ้นไป ถึง 60 ปี โดยที่ไม่มีช่วงใดช่วงหนึ่งเป็นได้พิเศษ
วิธีการสังเกตลักษณะอาการผิดปกติ ถ้าผู้ป่วยมีปัญกาเกี่ยวกับเรื่องของโรคมะเร็งจะมีลักษณะอาการผิดปกติอย่างไรบ้างที่บ่งบอกอาการ เราคงแบ่งอาการง่าย ๆ ได้ 4 อย่าง หรือ 4 กลุ่ม ดังนี้ 1. อาการแรกที่เป็น คือ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ซีด อ่อนเพลียง่าย อันนี้เป็นลักษณะเดิมทั่วไปทั้งหลาย 2. มีเลือดออกง่าย เพราะมะเร็งเม็ดเลือดขาวจะมีเกร็ดเลือดต่ำ จึงทำให้เลือดออกง่าย เช่น ออกตามไรฟัน มีจ่ำเขียวขึ้นบนตามตัว หรือมีประจำเดือนมากผิดปกติ 3. มีเม็ดเลือดขาวปริมาณมากแต่ทำหน้าที่ไม่ได้ตามเท่าที่จะเป็น เฉพาะเม็ดเลือดขาวมีหน้าที่ต่อ สู้กับเชื้อโรค แต่เมื่อเป็นอย่างนี้ก็ต่อสู้เชื้อโรคไม่ได้ ก็มีการติดเชื้อง่ายมีไข้ มีการติดเชื้อในตำแหน่งต่าง ๆ 4. เม็ดเลือดขาวไปบีบบังอวัยวะต่าง ๆ หรือสะสมอยู่ ก็ทำให้มีก้อนขึ้นที่ขาหนีบ ต่อมน้ำเหลือง ขา คอ หรือมีตับ ม้ามโต เราจะมีการตรวจ และวินิจฉัยโรคอย่างไรบ้างให้เราทราบอย่างชัดเจนว่าเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ขั้นแรก เราต้องเจาะเลือดตรวจว่ามีความผิดปกติ แล้วก็พบเซลล์เม็ดเลือดตัวอ่อนของเม็ดเลือดขาวต่อไปเราก็จะทำการยืนยันโดยการเจาะไขกระดูก เพื่อดูให้ชัดเจนอีกครั้งว่ามีการขยายตัวในไขกระดูกจริง วิธีการรักษาในปัจจุบันว่าถ้าเราเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวแล้วจะมีวิธีการรักษาอย่างไร วิธีแรกที่เราจะรักษา คือ การให้ยาเคมีบำบัด ซึ่งจะให้เป็นชุด ๆ ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานพอสมควร บางทีอาจจะใช้เวลา 1-2 ปีเป็นอย่างน้อย ในปัจจุบันก็จะมีวิธีใหม่มารักษา วิธีที่ 2 คือการปลูกถ่ายในไขกระดูก เราก็ทำได้แล้วแต่วิธีนี้ค่อนข้างยุ่งยากอยู่มีค่าใช้จ่ายสูงและมีโรคแทรกซ้อนสูงพอสมควร และต้องใช้ไขกระดูกของพี่น้องที่เข้ากันได้อีก ฉะนั้นการรักษาวิธีที่ 2 ต้องพิจารณาเป็นราย ๆ ไป ซึ่งหลักใหญ่ในการรักษาก็จะมี 2 วิธีที่กล่าวมาแล้ว ในการรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวจะมีการรักษาให้หายขาดได้ไหม ในปัจจุบันมีความก้าวหน้าของยาเคมีบำบัด และการปลูกถ่ายไขกระดูกมีความก้าวหน้า เพราะฉะนั้นจัดได้ว่ามะเร็งเม็ดเลือดขาวมีวิธีการรักษาให้หายขาดได้ โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ขวบ อัดราการรักษาให้หายขาดค่อนข้างสูง คงขึ้นอยู่กับการมาพบแพทย์รักษาอย่างรวดเร็วและมาพบตั้งแต่เริ่มต้น มีบางกลุ่มที่ไม่ทราบและปล่อยปละละเลยให้อาการเป็นมากขึ้น อันตรายจากโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวมีมากน้อยแค่ไหนหรือจะทำให้ผู้ป่วยถึงตายได้ ถ้าเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวอย่างเฉียบพลันแล้วไม่ได้รักษาโดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะเสียชีวิตใน 3-4 เดือน ในการเสียชีวิตนั้นมีการติดเชื้อง่าย และการติดเชื้อนั้นมีการลุกลามไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อีกกรณีหนึ่งก็คือมีเลือดออก เช่น มีเลือดออกจากสมองอาจทำให้ผู้ป่วยถึงแก่กรรมได้ย่างรวดเร็ว ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง พวกนี้อาการจะค่อยดำเนิน ค่อยเป็นค่อยไป อาจจะเริ่มจาก 6-8 เดือน หลังจากนั้นอวัยวะต่าง ๆ ก็จะเริ่มเสื่อมลง ก็จะเกิดปัญหารุนแรงตามมาอีก เพราะฉะนั้นเราควรดูแลรักษากัน เพราะโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเป็นโรคหนึ่งที่ร้ายแรงและอันตราย ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวนั้นจะมีวิธีดูแลหรือปฎิบัติตัวเองอย่างไร เรื่องแรกคือ การดูแลสุขอนามัยส่วนตัว เพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีการติดเชื้อได้ง่าย และการดูแลรักษาความสะอาดส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเป็นเรื่องสำคัญ ที่เราพบบ่อยคือสุขภาพปาก ฟัน อันนี้เป็นช่องทางทำให้ติดเชื้อกันง่าย ควรใช้แปรงขนอ่อนนุ่มเป็นพิเศษ ซึ่งพวกนี้จะราคาแพงแต่จะทำให้มีแผลในปากน้อย และจะช่วยลดการติดเชื้อเป็นอย่างดี การรับประทานอาหาร ผัก ผลไม้ มาก ๆ จะช่วยในการขับถ่ายอุจจาระไปได้ด้วยดีไม่ท้องผูกอาจจะมีแผลที่ทวารเป็นที่หนึ่งของการติดเชื้อได้ง่าย และการดื่มน้ำมาก ๆ ก็จะช่วยได้มากเพราะพวกนี้จะมีการแตกสลายในเม็ดเลือดเป็นจำนวนมากและมีการสะสมสารบางอย่างในร่างกายทำให้เกิดการอุดตันเพราะฉะนั้นทานน้ำมาก ๆ ก็จะช่วยขับถ่ายได้เป้นอย่างดี อีกอย่างคือการซื้อยาแก้ปวดแก้ไข้ทานเอง อันนี้จะเป็นอันตรายเสริมในกรณีที่ได้ยาผิดประเภทไป คนไข้กลุ่มนี้ต้องอยู่ในการควบคุมดูแลของแพทย์ การดูแลให้เหมาะสม สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว 1. พักผ่อนให้เพียงพอ 2. ดื่มน้ำมากๆ 3. รักษาความสะอาดของร่างกาย 4. รับประทานอาหารทีมีประโยชน์ คุณค่าต่อร่างกาย 5. รักษาสุขภาพร่างกายอย่าให้มีโรคแทรกซ้อนมาภายหลัง แนวทางการป้องกันโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวจะมีการป้องกันได้หรือไม่อย่างไรบ้าง เนื่องจากเรายังไม่ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริง แต่เราทราบว่ามีปัจจัยส่งเสริมว่าคือพวกสารเคมีบางอย่างหรือพวกอาหารที่มีสารปรุงแต่งมากเกินไป ช่วงนี้คนส่วนมากนิยมอาหารพวก Fast Food หรืออาหารทีมีการดัดแปลงมีสารเคมี และอันนี้ก็มีการศึกษาและพบว่ามีอุบัติการของมะเร็งไม่ใช้เฉพาะของมะเร็งเม็ดเลือดขาวอย่างเดียว มะเร็งชนิดอื่น ๆ ก็มีอุบัติการณ์สูงขึ้น ถ้าเราลดของพวกนี้ได้ก็จะลดปัจจัยการส่งเสริมมะเร็ง
ข้อแนะนำ ในปัจจุบันสมาคมโรคมะเร็งแห่งอเมริกาได้แนะนำว่า คนทั่วไปควรทานอาหารที่มีผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 5 สุ่ม ซึ่งจะช่วยลดอุบัติการการเกิดมะเร็งไม่ว่าจะเป็นมะเร็งชนิดใดก็คาม

8/8/2548

วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สื่อกลางในการสื่อสารข้อมูล


สื่อกลางในการสื่อสารข้อมูล แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ แบบใช้สาย และแบบไร้สาย


ชนิดของสื่อกลางในการสื่อสารข้อมูล
  • สื่อแบบใช้สาย
1. สายเกลียวคู่ ( Twisted Pair Cable )
สายเกลียวคู่เป็นสายที่มีราคาถูกที่สุด ประกอบด้วยทองแดง 2 เส้น แต่ละเส้นมีฉนวนหุ้มพันกันเป็นเกลียว สามารถรบกวนจากสนามแม่เหล็กได้ แต่ ไม่สามารถป้องกันการสูญเสียพลังงานจากการแผ่รังสีความร้อนในขณะที่มีสัญญาณส่งผ่านสาย สายเกลียวคู่ 1 คู่ จะแทนการสื่อสาร ได้ 1 ช่องทาง สื่อสาร ( Channel ) ในการใช้งานได้จริง เช่น สายโทรศัพท์จะเป็นสายรวมที่ประกอบด้วยสายเกลียวคู่อยู่ภายในเป็นร้อยๆ คู่ สายเกลียวคู่ 1 คู่จะมี ขนาดประมาณ 0.016 - 0.036 นิ้วสายเกลียวคู่สามารถใช้ได้ทั้งการส่งสัญญาณข้อมูลแบบอนาลอก และ แบบดิจิตอล เนื่องจากสายเกลียวคู่จะมีการสูญเสียสัญญาณขณะส่ง สัญญาณ จึงจำเป็นต้องมี " เครื่องขยาย " ( Amplifier ) สัญญาณ สำหรับการส่งสัญญาณข้อมูลแบบอนาลอกในระยะทางไกลๆ หรือ ทุก 5-6 กม. ส่วนการส่งสัญญาณข้อมูลแบบดิจิตอลต้องมี " เครื่องทบทวนสัญญาณ " ( Repeater ) สัญญาณ ทุกๆ ระยะ 2-3 กม.






สายทองแดงแบบไม่หุ้มฉนวน (Unshield Twisted Pair) มีราคาถูกและนิยมใช้กันมากที่สุด ส่วนใหญ่มักใช้กับระบบโทรศัพท์ แต่สายแบบนี้มักจะถูกรบกวนได้ง่าย และไม่ค่อยทนทาน



สายทองแดงแบบหุ้มฉนวน (Shield Twisted Pair) มีลักษณะเป็นสองเส้น มีแนวแล้วบิดเป็นเกลี่ยวเข้าด้วยกันเพื่อลดเสียงรบกวน มีฉนวนหุ้มรอบนอก มีราคาถูก ติดตั้งง่าย น้ำหนักเบาและ การรบกวนทางไฟฟ้าต่ำ สายโทรศัพท์จัดเป็นสายคู่บิดเกลี่ยวแบบหุ้มฉนวน

2. สายโคแอกเชียล ( Coaxial Cable)
สายเคเบิลแบบโคแอกเชียลหรือเรียกสั้นๆ ว่า " สายโคแอก " จะเป็นสายสื่อสารที่มีคุณภาพดีกว่าและราคาแพงกว่าสายเกลียวคู่ ส่วนของการส่ง ข้อมูลจะอยู่ตรงกลางเป็นลวดทองแดงมีชั้นของตัวเหนี่ยวนำหุ้มอยู่ 2 ชั้น ชั้นในเป็นฟั่นเกลียวหรือชั้นแข็ง ชั้นนอกเป็นฟั่นเกลียว และคั่นระหว่าง ชั้นด้วยฉนวนหนา เปลือกชั้นนอกสุดเป็นฉนวน สายโคแอกสามารถม้วนโค้งงอได้ง่าย มี 2 แบบ คือ 75 โอห์ม และ 50 โอห์ม ขนาดของสายมีตั้ง แต่ 0.4-1.0 นิ้วชั้นตัวเหนี่ยวนำป้องกันการสูญเสียพลังงานการแผ่รังสี เปลือกฉนวนหนา ทำให้สายโคแอกมีความคงทนสามารถฝังเดินสายใต้พื้นดินได้ นอก จากนั้นสายโคแอกยังช่วยป้องกัน " การสะท้อนกลับ " ( Echo ) ของเสียงได้อีกแและลดการรบกวนจากภายนอกได้ดีเช่นกันสายโคแอกสามารถส่งสัญญาณข้อมูลได้ทั้งช่องทางแบบเบสแบนด์และแบบบรอดแบนด์ การส่งสัญญาณในเบสแบนด์สามารถทำได้เพียง 1 ช่อง ทางและเป็นแบบครึ่งดูเพล็กซ์ แต่ในส่วนของการส่งสัญญาณในบรอดแบนด์จะเป็น เช่นเดียวกับสายเคเบิลทีวี คือสามารถส่งได้พร้อมกันหลาย ช่องทางทั้งข้อมูลแบบดิจิตอลและอนาลอก สายโคแอกของเบสแบนด์สามารถส่งสัญญาณได้ไกลถึง 2 กม. ในขณะที่บรอดแบนกด์ส่งได้ไกลกว่า ถึง 6 กม. เท่าโดยไม่ต้องใช้เครื่องทบทวนสัญญาณ หรือเครือ่งขยายเลย


3. สายไฟเบอร์ออปติก ( Fiber Optic Cable )
สายไฟเบอร์ออปติกทำจากแก้วหรือ พลาสติกสามารถส่งลำแสงผ่านสายได้ทีละหลายๆ ลำแสงด้วยมุมที่ต่างกัน ลำแสงที่ส่งออกไปเป็นพัลส์นั้น จะสะท้อนกลับไปมาที่ผิวของสายชั้นในจึงถึงปลายทางจากสัญญาณข้อมูลซึ่งอาจจะเป็นสัญญาณอนาลอกหรือ ดิจิตอล จะผ่านอุปกรณ์ทีทำหน้าที่มอดูเลตสัญญาณเสียก่อน จากนั้นจะส่งสัญญาณ มอดูเลตผ่านตัวไดโอดซึ่งมี 2 ชนิดคือ LED ไดโอด ( Light Emitting Diode ) และ เลเซอร์ ไดโอด หรือ ILD ไดโอด ( Injection Laser Diode) ไดโอดจะมีหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณมอดูเลตให้เป็นลำแสงเลเซอร์ซึ่งเป็นคลื่นแสงในย่านทีมองเห็นได้ หรือเป็นลำแสงในย่านอินฟาเรดซึ่งไม่สามารถ มองเห็นได้ ความถี่ย่านอินฟาเรดใช้อยู่ข่วง 1014-1015 เฮิรตซ์ความผิดพลาดในการส่งข้อมูลผ่านสายไฟเบอร์ออปติกนั้นมีน้อยมาก คือประมาณ 1 ใน 10 ล้านบิตต่อการส่ง 1,000 ครั้ง เท่านั้น ทั้งยังป้องกัน การรบกวนสัญญาณภายนอกได้สิ้นเชิง


  • สื่อแบบไร้สาย
1. ไมโครเวฟ ( Microwave )


การส่งสัญญาณข้อมูลไปกับคลื่นไมโครเวฟจะเป็นการส่งสัญญาณข้อมูลแบบรับช่วงต่อๆ กันจากหอ ( สถานี ) ส่ง - รับสัญญาณหนึ่งไปยังอีกหอ หนึ่ง แต่ละหอจะครอบคลุมพื้นที่รับสัญญาณประมาณ 30- 50 กม. การส่งสัญญาณข้อมูลด้วยไมโครเวฟมักใช้กันในกรณีที่การติดตั้งสายเคเบิลทำได้ไม่สะดวก เช่นในเขตเมืองใหญ่ๆ หรือ ป่าเขา แต่ละสถานี ไมโครเวฟจะติดตั้งจานส่ง - รับสัญญาณข้อมูลซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10 ฟุต สัญญาณไมโครเวฟเป็นคลื่นความถี่สูง ( 2 - 10 GHerzt) เพื่อป้องกันการแทรกหรือรบกวนจากสัญญาณอื่นๆ แต่สัญญาณอาจจะอ่อนลง หรือ หักเหได้ในที่มีอากาศร้อนจัด พายุหรือฝน ดังนั้น การติดตั้งจานส่ง - รับสัญญาณจึงต้องให้ได้หน้าที่ของจานตรงกัน ปัจจุบันการส่งสัญญาณข้อมูลด้วยไมโครเวฟกันอย่างแพร่หลาย สำหรับการสื่อสารข้อมูลในระยะทางไกลๆ หรือ ระหว่างอาคาร โดยเฉพาะใน กรณีที่ไม่สะดวกที่ใช้สายไฟเบอร์ออปติก หรือการสื่อสารด้วยดาวเทียม อีกทั้งไมโครเวฟยังมีราคาถูก และติดตั้งง่ายด้วย
2. ดาวเทียม ( Satellite )



ที่จริงดาวเทียมคือสถานีไมโครเวฟลอยฟ้านั่นเอง ซึ่งทำหน้าที่ขยายและทบทวนสัญญาณข้อมูล รับและส่งสัญญาณข้อมูลกับสถานีดาวเทียม บนพื้นโลก สถานีดาวเทียมภาคพื้นจะทำการส่งสัญญาณข้อมูลไปยังดาวเทียมซึ่งจะหมุนไปตามการหมุนของโลกซึ่งมีตำแหน่งคงที่เมื่อเทียบ กับตำแหน่งบนพื้นโลก ดาวเทียมจะถูกส่งขึ้นให้ไปลอยอยู่สูงจากพื้นโลกประมาณ 36,000 กม. เครื่องทบทวนสัญญาณดาวเทียม ( Transponder) จะรับสัญญาณข้อมูลจากสถานีภาคพื้นซึ่งกำลังอ่อนลงมากแล้วมาขยาย จากนั้นจะทำการทบทวนสัญญาณและตรวจสอบตำแหน่งของสถานีปลายทาง แล้วจึงส่งสัญญาณข้อมูลไปด้วยความถี่หนึ่งลงไปยังสถานีปลาย ทาง การส่งสัญญาณข้อมูลขึ้นไปเรียกว่า สัญญาณ อัปลิงก์ ( Up - link ) และการส่งสัญญาณข้อมูลกลับมายังพื้นโลก เรียกว่า สัญญาณดาวน์ - ลิงก์ ( Down link ) ลักษณะการรับส่งสัญญาณข้อมูลอาจจะเป็นแบบจุดต่อจุด หรือแบบแพร่สัญญาณ ก็ได้ สถานีดาวเทียมหนึ่งดวง สามารถมี เครื่องทบทวน สัญญาณดาวเทียมได้ถึง 25 เครื่อง และสามารถครอบคลุมพื้นที่ในการส่งสัญญาณได้ถึง 1 ใน 3 ของพื้นผิวโลก ดังนั้นถ้าจะส่งสัญญาณข้อมูล ให้ได้รอบโลกสามารถทำได้โดยการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมเพียง 3 ดวงเท่านั้นข้อเสียของการส่งสัญญาณข้อมูลดาวเทียมคือ สัญญาณข้อมูลทางดาวเทียมคือ สัญญาณข้อมูลสามารถถูกรบกวนจากสัญญาณภาคพื้นอื่นๆ ได้ อีกทั้งยังมีเวลาประวิง ในการส่งสัญญาณเนื่องจากระยะทางขึ้น ลง ของสัญญาณ และที่สำคัญคือ มีราคาสูงทีสุดในการลงทุนทำให้ค่าบริการ สูงตามเช่นกัน

3. แสงอินฟาเรด(Infrared)

  • ใช้ในการสื่อสารระยะใกล้ๆ
  • เท่านั้น เช่นในบริเวณห้องเดียวกัน
  • นิยมใช้ในการติดต่อระหว่างอุปกรณืสองอุปกรณ์เท่านั้น
  • มีอัตราความเร็วในการส่งข้อมูลไม่สูง ประมาณ 4 Mbps

ข้อดี ราคาถูก สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องขอใช้ความถี่จากองค์กรควบคุมการสื่อสาร

ข้อเสีย ไม่สามารถผ่านวัตถุทึบแสงได้ ถูกรบกวนด้วยแสงอาทอตย์ได้ง่าย

4. วิทยุ (Radio Link)
ระบบสื่อสารวิทยุ 1 ช่องสัญญาณ สามารถใช้ได้กับหลายสถานี โดยมีการควบคุมการส่งสัญญาณข้อมูลไม่ให้ชนกันโดยวิธี CSMA
ใช้ความถี่ในการส่งสัญญาณข้อมูลในช่วง 400-900 MHz

ข้อดี สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องขอใช้ความถี่จากองค์กรควบคุมการสื่อสาร
สามารถส่งสัญญาณข้อมูลกับสถานีเคลื่อนที่ได้
มีแบนด์วิดธ์สูง ทำให้การส่งข้อมูลมีความเร็วสูงด้วย
ข้อเสีย ถูกรบกวนได้ง่าย การส่งข้อมูลเป็นแบบแพร่กระจาย จึงมีความปลอดภัยของข้อมูลต่ำ

5. บลูทูธ (Bluetooth)
เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ เกิดขึ้นประมาณ ค.ศ.1998 ใช้ความถี่ในการส่งสัญญาณข้อมูล 2.5 GHz สามารถสื่อสารได้ไม่เกิน 10 เมตร สามารถส่งผ่านวัตถุทึบแสงได้ สื่อสารระหว่างอุปกรณ์หลายๆ อุปกรณ์ได้
ข้อดี มีมาตรฐานสามารถใช้งานได้ทั่วโลก ใช้ได้กับข้อมูล ภาพ เสียง มัลติมิเดีย
ข้อเสีย มีปัญหาการชนกันของข้อมูล




























วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2552

flower



อุทยานดอกไม้ ชม ผกา จำปา จำปีกุหลาบ ราตรี พะยอม อังกาบ ทั้ง กรรณิการ์ลำดวน นมแมว ซ่อนกลิ่น ยี่โถ ชงโค มณฑาสายหยุด เฟื่องฟ้า ชบา และ สร้อยทอง ...บานบุรี ยี่สุ่น ขจร ประดู่ พุดซ้อน พลับพลึง หงอนไก่ พิกุล ควรปองงาม ทานตะวัน รักเร่ กาหลง ประยงค์ พวงทองบานชื่น สุขสอง พุทธชาด สะอาดแซม(ซ้ำ)...พิศ พวงชมพู กระดังงา เลื้อยเคียงคู่ ดูสดสวยแฉล้มรสสุคนธ์ บุญนาค นางแย้ม สารภี ที่ถูกใจ...งาม อุบล ปน จันทร์กะพ้อผีเสื้อ แตกกอ พร้อม เล็บมือนาง พุดตาน กล้วยไม้ดาวเรือง อัญชัน ยี่หุบ มะลิวัลย์ แลวิไลชูช่อไสว เร้าใจในอุทยาน...(ซ้ำ)