วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สื่อกลางในการสื่อสารข้อมูล


สื่อกลางในการสื่อสารข้อมูล แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ แบบใช้สาย และแบบไร้สาย


ชนิดของสื่อกลางในการสื่อสารข้อมูล
  • สื่อแบบใช้สาย
1. สายเกลียวคู่ ( Twisted Pair Cable )
สายเกลียวคู่เป็นสายที่มีราคาถูกที่สุด ประกอบด้วยทองแดง 2 เส้น แต่ละเส้นมีฉนวนหุ้มพันกันเป็นเกลียว สามารถรบกวนจากสนามแม่เหล็กได้ แต่ ไม่สามารถป้องกันการสูญเสียพลังงานจากการแผ่รังสีความร้อนในขณะที่มีสัญญาณส่งผ่านสาย สายเกลียวคู่ 1 คู่ จะแทนการสื่อสาร ได้ 1 ช่องทาง สื่อสาร ( Channel ) ในการใช้งานได้จริง เช่น สายโทรศัพท์จะเป็นสายรวมที่ประกอบด้วยสายเกลียวคู่อยู่ภายในเป็นร้อยๆ คู่ สายเกลียวคู่ 1 คู่จะมี ขนาดประมาณ 0.016 - 0.036 นิ้วสายเกลียวคู่สามารถใช้ได้ทั้งการส่งสัญญาณข้อมูลแบบอนาลอก และ แบบดิจิตอล เนื่องจากสายเกลียวคู่จะมีการสูญเสียสัญญาณขณะส่ง สัญญาณ จึงจำเป็นต้องมี " เครื่องขยาย " ( Amplifier ) สัญญาณ สำหรับการส่งสัญญาณข้อมูลแบบอนาลอกในระยะทางไกลๆ หรือ ทุก 5-6 กม. ส่วนการส่งสัญญาณข้อมูลแบบดิจิตอลต้องมี " เครื่องทบทวนสัญญาณ " ( Repeater ) สัญญาณ ทุกๆ ระยะ 2-3 กม.






สายทองแดงแบบไม่หุ้มฉนวน (Unshield Twisted Pair) มีราคาถูกและนิยมใช้กันมากที่สุด ส่วนใหญ่มักใช้กับระบบโทรศัพท์ แต่สายแบบนี้มักจะถูกรบกวนได้ง่าย และไม่ค่อยทนทาน



สายทองแดงแบบหุ้มฉนวน (Shield Twisted Pair) มีลักษณะเป็นสองเส้น มีแนวแล้วบิดเป็นเกลี่ยวเข้าด้วยกันเพื่อลดเสียงรบกวน มีฉนวนหุ้มรอบนอก มีราคาถูก ติดตั้งง่าย น้ำหนักเบาและ การรบกวนทางไฟฟ้าต่ำ สายโทรศัพท์จัดเป็นสายคู่บิดเกลี่ยวแบบหุ้มฉนวน

2. สายโคแอกเชียล ( Coaxial Cable)
สายเคเบิลแบบโคแอกเชียลหรือเรียกสั้นๆ ว่า " สายโคแอก " จะเป็นสายสื่อสารที่มีคุณภาพดีกว่าและราคาแพงกว่าสายเกลียวคู่ ส่วนของการส่ง ข้อมูลจะอยู่ตรงกลางเป็นลวดทองแดงมีชั้นของตัวเหนี่ยวนำหุ้มอยู่ 2 ชั้น ชั้นในเป็นฟั่นเกลียวหรือชั้นแข็ง ชั้นนอกเป็นฟั่นเกลียว และคั่นระหว่าง ชั้นด้วยฉนวนหนา เปลือกชั้นนอกสุดเป็นฉนวน สายโคแอกสามารถม้วนโค้งงอได้ง่าย มี 2 แบบ คือ 75 โอห์ม และ 50 โอห์ม ขนาดของสายมีตั้ง แต่ 0.4-1.0 นิ้วชั้นตัวเหนี่ยวนำป้องกันการสูญเสียพลังงานการแผ่รังสี เปลือกฉนวนหนา ทำให้สายโคแอกมีความคงทนสามารถฝังเดินสายใต้พื้นดินได้ นอก จากนั้นสายโคแอกยังช่วยป้องกัน " การสะท้อนกลับ " ( Echo ) ของเสียงได้อีกแและลดการรบกวนจากภายนอกได้ดีเช่นกันสายโคแอกสามารถส่งสัญญาณข้อมูลได้ทั้งช่องทางแบบเบสแบนด์และแบบบรอดแบนด์ การส่งสัญญาณในเบสแบนด์สามารถทำได้เพียง 1 ช่อง ทางและเป็นแบบครึ่งดูเพล็กซ์ แต่ในส่วนของการส่งสัญญาณในบรอดแบนด์จะเป็น เช่นเดียวกับสายเคเบิลทีวี คือสามารถส่งได้พร้อมกันหลาย ช่องทางทั้งข้อมูลแบบดิจิตอลและอนาลอก สายโคแอกของเบสแบนด์สามารถส่งสัญญาณได้ไกลถึง 2 กม. ในขณะที่บรอดแบนกด์ส่งได้ไกลกว่า ถึง 6 กม. เท่าโดยไม่ต้องใช้เครื่องทบทวนสัญญาณ หรือเครือ่งขยายเลย


3. สายไฟเบอร์ออปติก ( Fiber Optic Cable )
สายไฟเบอร์ออปติกทำจากแก้วหรือ พลาสติกสามารถส่งลำแสงผ่านสายได้ทีละหลายๆ ลำแสงด้วยมุมที่ต่างกัน ลำแสงที่ส่งออกไปเป็นพัลส์นั้น จะสะท้อนกลับไปมาที่ผิวของสายชั้นในจึงถึงปลายทางจากสัญญาณข้อมูลซึ่งอาจจะเป็นสัญญาณอนาลอกหรือ ดิจิตอล จะผ่านอุปกรณ์ทีทำหน้าที่มอดูเลตสัญญาณเสียก่อน จากนั้นจะส่งสัญญาณ มอดูเลตผ่านตัวไดโอดซึ่งมี 2 ชนิดคือ LED ไดโอด ( Light Emitting Diode ) และ เลเซอร์ ไดโอด หรือ ILD ไดโอด ( Injection Laser Diode) ไดโอดจะมีหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณมอดูเลตให้เป็นลำแสงเลเซอร์ซึ่งเป็นคลื่นแสงในย่านทีมองเห็นได้ หรือเป็นลำแสงในย่านอินฟาเรดซึ่งไม่สามารถ มองเห็นได้ ความถี่ย่านอินฟาเรดใช้อยู่ข่วง 1014-1015 เฮิรตซ์ความผิดพลาดในการส่งข้อมูลผ่านสายไฟเบอร์ออปติกนั้นมีน้อยมาก คือประมาณ 1 ใน 10 ล้านบิตต่อการส่ง 1,000 ครั้ง เท่านั้น ทั้งยังป้องกัน การรบกวนสัญญาณภายนอกได้สิ้นเชิง


  • สื่อแบบไร้สาย
1. ไมโครเวฟ ( Microwave )


การส่งสัญญาณข้อมูลไปกับคลื่นไมโครเวฟจะเป็นการส่งสัญญาณข้อมูลแบบรับช่วงต่อๆ กันจากหอ ( สถานี ) ส่ง - รับสัญญาณหนึ่งไปยังอีกหอ หนึ่ง แต่ละหอจะครอบคลุมพื้นที่รับสัญญาณประมาณ 30- 50 กม. การส่งสัญญาณข้อมูลด้วยไมโครเวฟมักใช้กันในกรณีที่การติดตั้งสายเคเบิลทำได้ไม่สะดวก เช่นในเขตเมืองใหญ่ๆ หรือ ป่าเขา แต่ละสถานี ไมโครเวฟจะติดตั้งจานส่ง - รับสัญญาณข้อมูลซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10 ฟุต สัญญาณไมโครเวฟเป็นคลื่นความถี่สูง ( 2 - 10 GHerzt) เพื่อป้องกันการแทรกหรือรบกวนจากสัญญาณอื่นๆ แต่สัญญาณอาจจะอ่อนลง หรือ หักเหได้ในที่มีอากาศร้อนจัด พายุหรือฝน ดังนั้น การติดตั้งจานส่ง - รับสัญญาณจึงต้องให้ได้หน้าที่ของจานตรงกัน ปัจจุบันการส่งสัญญาณข้อมูลด้วยไมโครเวฟกันอย่างแพร่หลาย สำหรับการสื่อสารข้อมูลในระยะทางไกลๆ หรือ ระหว่างอาคาร โดยเฉพาะใน กรณีที่ไม่สะดวกที่ใช้สายไฟเบอร์ออปติก หรือการสื่อสารด้วยดาวเทียม อีกทั้งไมโครเวฟยังมีราคาถูก และติดตั้งง่ายด้วย
2. ดาวเทียม ( Satellite )



ที่จริงดาวเทียมคือสถานีไมโครเวฟลอยฟ้านั่นเอง ซึ่งทำหน้าที่ขยายและทบทวนสัญญาณข้อมูล รับและส่งสัญญาณข้อมูลกับสถานีดาวเทียม บนพื้นโลก สถานีดาวเทียมภาคพื้นจะทำการส่งสัญญาณข้อมูลไปยังดาวเทียมซึ่งจะหมุนไปตามการหมุนของโลกซึ่งมีตำแหน่งคงที่เมื่อเทียบ กับตำแหน่งบนพื้นโลก ดาวเทียมจะถูกส่งขึ้นให้ไปลอยอยู่สูงจากพื้นโลกประมาณ 36,000 กม. เครื่องทบทวนสัญญาณดาวเทียม ( Transponder) จะรับสัญญาณข้อมูลจากสถานีภาคพื้นซึ่งกำลังอ่อนลงมากแล้วมาขยาย จากนั้นจะทำการทบทวนสัญญาณและตรวจสอบตำแหน่งของสถานีปลายทาง แล้วจึงส่งสัญญาณข้อมูลไปด้วยความถี่หนึ่งลงไปยังสถานีปลาย ทาง การส่งสัญญาณข้อมูลขึ้นไปเรียกว่า สัญญาณ อัปลิงก์ ( Up - link ) และการส่งสัญญาณข้อมูลกลับมายังพื้นโลก เรียกว่า สัญญาณดาวน์ - ลิงก์ ( Down link ) ลักษณะการรับส่งสัญญาณข้อมูลอาจจะเป็นแบบจุดต่อจุด หรือแบบแพร่สัญญาณ ก็ได้ สถานีดาวเทียมหนึ่งดวง สามารถมี เครื่องทบทวน สัญญาณดาวเทียมได้ถึง 25 เครื่อง และสามารถครอบคลุมพื้นที่ในการส่งสัญญาณได้ถึง 1 ใน 3 ของพื้นผิวโลก ดังนั้นถ้าจะส่งสัญญาณข้อมูล ให้ได้รอบโลกสามารถทำได้โดยการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมเพียง 3 ดวงเท่านั้นข้อเสียของการส่งสัญญาณข้อมูลดาวเทียมคือ สัญญาณข้อมูลทางดาวเทียมคือ สัญญาณข้อมูลสามารถถูกรบกวนจากสัญญาณภาคพื้นอื่นๆ ได้ อีกทั้งยังมีเวลาประวิง ในการส่งสัญญาณเนื่องจากระยะทางขึ้น ลง ของสัญญาณ และที่สำคัญคือ มีราคาสูงทีสุดในการลงทุนทำให้ค่าบริการ สูงตามเช่นกัน

3. แสงอินฟาเรด(Infrared)

  • ใช้ในการสื่อสารระยะใกล้ๆ
  • เท่านั้น เช่นในบริเวณห้องเดียวกัน
  • นิยมใช้ในการติดต่อระหว่างอุปกรณืสองอุปกรณ์เท่านั้น
  • มีอัตราความเร็วในการส่งข้อมูลไม่สูง ประมาณ 4 Mbps

ข้อดี ราคาถูก สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องขอใช้ความถี่จากองค์กรควบคุมการสื่อสาร

ข้อเสีย ไม่สามารถผ่านวัตถุทึบแสงได้ ถูกรบกวนด้วยแสงอาทอตย์ได้ง่าย

4. วิทยุ (Radio Link)
ระบบสื่อสารวิทยุ 1 ช่องสัญญาณ สามารถใช้ได้กับหลายสถานี โดยมีการควบคุมการส่งสัญญาณข้อมูลไม่ให้ชนกันโดยวิธี CSMA
ใช้ความถี่ในการส่งสัญญาณข้อมูลในช่วง 400-900 MHz

ข้อดี สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องขอใช้ความถี่จากองค์กรควบคุมการสื่อสาร
สามารถส่งสัญญาณข้อมูลกับสถานีเคลื่อนที่ได้
มีแบนด์วิดธ์สูง ทำให้การส่งข้อมูลมีความเร็วสูงด้วย
ข้อเสีย ถูกรบกวนได้ง่าย การส่งข้อมูลเป็นแบบแพร่กระจาย จึงมีความปลอดภัยของข้อมูลต่ำ

5. บลูทูธ (Bluetooth)
เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ เกิดขึ้นประมาณ ค.ศ.1998 ใช้ความถี่ในการส่งสัญญาณข้อมูล 2.5 GHz สามารถสื่อสารได้ไม่เกิน 10 เมตร สามารถส่งผ่านวัตถุทึบแสงได้ สื่อสารระหว่างอุปกรณ์หลายๆ อุปกรณ์ได้
ข้อดี มีมาตรฐานสามารถใช้งานได้ทั่วโลก ใช้ได้กับข้อมูล ภาพ เสียง มัลติมิเดีย
ข้อเสีย มีปัญหาการชนกันของข้อมูล




























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น