วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ประเภทของระบบเครือข่าย

การจำแนกประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้คือ
1. การจำแนกระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ตามขนาดทางกายภา
–ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network :LAN)

เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระยะใกล้ คือ ใช้เชื่อมต่อกันในบริเวณที่จำกัด เช่น ภายในห้องเดียวกัน หรือภายในอาคารเดียวกัน นับเป็นรากฐานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วไป กล่าวคือเกือบทุกๆ เครือข่ายต้องมี LAN เป็นองค์ประกอบเทคโนโลยี LAN มีหลายประเภท เช่น Ethernet ,ATM
Token Ring, FDDI แต่ที่นิยมมากที่สุดคือ Ethernet ซึ่งใน Ethernet เองยังจำแนกออกได้หลายประเภทย่อย ขึ้นอยู่กับความเร็ว โทโปโลยี และประเภทสายนำสัญญาณที่ใช้ เทคโนโลยี LAN มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน การเลือกใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ควรใช้ให้เหมาะกับลักษณะการใช้งานเครือข่ายขององค์กร

–ระบบเครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network :MAN)

เป็นเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่กว่าเครือข่าย LAN ครอบคลุมพื้นที่ในเขตอำเภอ หรือจังหวัดเดียวกัน โดยอาจเป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ขององค์กรเข้าด้วยกัน เช่น การต่อคอมพิวเตอร์ของสาขาต่างๆ ในเขตเมือง เพื่อสื่อสารแบ่งปันข้อมูลระหว่างกันในองค์กร การส่งข้อมูลของเครือข่าย MAN จะขึ้นอยู่กับช่องทางการสื่อสารที่อาจมีความเร็วปานกลางจนถึงความเร็วสูง ระบบการส่งข้อมูลที่ใช้ในระบบ MAN นั้นมีทั้งแบบใช้สายสัญญาณและแบบไม่ใช้สายสัญญาณ แต่จะใช้คลื่นไมโครเวฟ หรือคลื่นวิทยุแทนก็ได้

–ระบบเครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network : WAN)

เป็นเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่ ครอบคลุมบริเวณกว้าง โดยจะนำเครือข่าย LAN ตั้งแต่สองเครือข่ายมาต่อกัน โดยใช้สายส่งข้อมูลความเร็วสูงครอบคลุมพื้นที่วงกว้าง เช่นบริษัทที่มีเครือข่ายอยู่หลายจังหวัดต้องการสื่อสารข้อมูลเข้าด้วยกัน เครือข่ายที่มีการสื่อสารระหว่างเมืองหลวง หรือข้ามพรมแดนประเทศ สำหรับวิธีการเชื่อมโยงสัญญาณอาจทำได้โดยใช้สายเคเบิล ไมโครเวฟ หรือดาวเทียม เพื่อเชื่อมโยงกันให้เป็นบริเวณกว้าง สำหรับระบบ WAN ที่ครอบคลุมพื้นที่ไปทั่วโลกก็คือเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั่นเอง

2. การจำแนกระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ตามหน้าที่การทำงานในเครือข่าย
–ระบบเครือข่ายแบบพึ่งพาเครื่องบริการ (Server Based Network หรือ Client-Server )

เครือข่ายนี้ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย มีการแบ่งแยกน้าที่ของคอมพิวเตอร์อย่างชัดเจน ในระบบนี้จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง เรียกว่าเครื่องเซิร์ฟเวอร์ (Server) ซึ่งทำหน้าที่ให้บริการต่างๆ เช่น เป็นศูนย์กลางในการจัดเก็บข้อมูลไฟล์ หรือโปรแกรมต่างๆ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับทรัพยากรให้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่เป็นลูกข่าย เรียกว่า เครื่องไคลเอนด์ (Client) เครือข่ายนี้แบบนี้เหมาะสำหรับการเชื่อมต่อจำนวนมาก

–ระบบเครือข่ายแบบเท่าเทียมกัน (Peer to Peer Network)

ข้อจำกัดของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ข้อจำกัดของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1. ลงทุนสูงและจัดการยุ่งยาก การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการจัดการระบบเครือข่าย ต้องใช้เทคโนโลยีที่ยุ่งยากซับซ้อน ต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ความชำนาญ และมีประสบการณ์สูง จึงต้องใช้งบประมาณ การเริ่มต้นลงทุนสูงมาก อีกทั้งเทคโนโลยีของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก จำเป็นต้องมีงบประมาณ เพื่อปรับปรุงระบบให้ทันสมัยอยู่เสมอ
2. การแบ่งทรัพยากรกันใช้นั้นอาจไม่สามารถใช้ทรัพยากรนั้นๆ ได้ทันทีทันใด เพราะหากมีการเรียกใช้ทรัพยากรเดียวกันจากคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องพร้อมกัน เช่น การใช้เครื่องพิมพ์โดยเครื่องพิมพ์นั้นมีการใช้งานจากคอมพิวเตอร์ตัวอื่นอยู่ก่อนหน้าแล้ว งานพิมพ์ของเราก็จะต้องเข้าคิวรอการทำงาน
3. ขาดแคลนซอฟต์แวร์ประยุกต์ ระบบเครือข่ายปัจจุบัน ยังขาดแคลนซอฟต์แวร์ประยุกต์ ด้านต่าง ๆ ทำงานภายใต้สภาพแวดล้อม แบบเครือข่ายอยู่มาก เพราะการพัฒนา ต้องใช้ความรู้ความชำนาญสูง ต้องใช้เวลาในการพัฒนา จึงจะสามารถสร้างซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้งานด้านต่าง ๆ ได้
4. การรักษาความปลอดภัย ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ยังขาดความปลอดภัยในด้านการรักษาข้อมูลอยู่มาก มีโอกาสที่จะถูกผู้อื่นแอบเข้ามาเอาข้อมูลได้จากหลาย ๆที่ หรืออาจมีข้อมูลสูญหายได้ ในขณะติดต่อสื่อสาร เนื่องจากมีข่าวสารในระบบอยู่มาก
5. ความเร็วในการรับส่งข้อมูลต่ำ ในระบบเครือข่ายระยะไกล เช่น อินเทอร์เน็ต การเรียกใช้ข้อมูลในไฟล์ผ่านระบบเครื่อข่ายนั้นจะมีความเร็วที่ช้ากว่าการเรียกใช้ข้อมูลกับฮาร์ดดิสก์ในเครื่องของตน ตัวกลางนำที่ใช้ ในการนำสัญญาณ ยังมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลต่ำ เมื่อเทียบกับการสื่อสารด้วยโทรศัพท์ หรือโทรทัศน์ โดยเฉพาะข้อมูลที่เป็นภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว เพราะไฟล์มีขนาดใหญ่มาก


ข้อเสียของระบบ Wireless LAN
1. มีอัตราการลดทอนสัญญาณสูง นั่นหมายความว่า “ส่งสัญญาณได้ระยะสั้น ”
2. มีสัญญาณรบกวนสูง
3. ต้องแชร์กันใช้ช่องสัญญาณคลื่นความถี่เดียวกัน
4. ยังมี หลายมาตรฐาน ตามผู้ผลิต แต่ละราย ทำให้มีปัญหาในการใช้งานร่วมกัน
5. ราคาแพงกว่าระบบเครือข่ายแบบมีสาย
6. มีความเร็วไม่สูงมากนัก

อ้างอิง : http://admin.srp.ac.th/moodledata/35/moddata/assignment/50/1492/sirimon_Chanthong_60932.doc

ประโยชน์ของระบบเครือข่าย

การประยุกต์ใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างกว้างขวางและสามารถใช้ประโยชน์ได้มากมาย ทั้งนี้เพราะระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และสื่อสารข้อมูลระหว่างกันได้
ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีดังนี้
1. การใช้อุปกรณ์หรือทรัพยากร ร่วมกัน (Sharing of peripheral devices) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ใช้ สามารถใช้อุปกรณ์ รอบข้างที่ต่อพ่วงกับระบบคอมพิวเตอร์ ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเครื่องพิมพ์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม สแกนเนอร์ โมเด็ม เป็นต้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ที่มีราคาแพง เชื่อมต่อพ่วงให้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง
2. การใช้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกัน (Sharing of program and data) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรม และข้อมูลร่วมกันได้ โดยจัดเก็บโปรแกรมไว้แหล่งเก็บข้อมูล ที่เป็นศูนย์กลาง เช่น ที่ฮาร์ดดิสก์ของเครื่อง File Server ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมร่วมกัน ได้จากแหล่งเดียวกัน ไม่ต้องเก็บโปรแกรมไว้ในแต่ละเครื่อง ให้ซ้ำซ้อนกัน นอกจากนั้นยังสามารถรวบรวม ข้อมูลต่าง ๆ จัดเก็บเป็นฐานข้อมูล ผู้ใช้สามารถใช้สารสนเทศ จากฐานข้อมูลกลาง ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร ์ที่ใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย โดยไม่ต้องเดินทางไปสำเนาข้อมูลด้วยตนเอง เพราะใช้การเรียกใช้ข้อมูล ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั่นเอง เครื่องลูก (Client) สามารถเข้ามาใช้ โปรแกรม ข้อมูล ร่วมกันได้จากเครื่องแม่ (Server) หรือระหว่างเครื่องลูกกับเครื่องลูกก็ได้ เป็นการประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บโปรแกรม ไม่จำเป็นว่าทุกเครื่องต้องมีโปรแกรมเดียวกันนี้ในเครื่องของตนเอง
3. สามารถติดต่อสื่อสารระยะไกลได้ (Telecommunication) การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เป็นเครือข่าย ทั้งประเภทเครือข่าย LAN , MAN และ WAN ทำให้คอมพิวเตอร์ สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูล ระยะไกลได ้โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ทางด้านการติดต่อสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการให้บริการต่าง ๆ มากมาย เช่น การโอนย้ายไฟล์ข้อมูล การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) การสืบค้นข้อมูล (Serach Engine) เป็นต้น
4. สามารถประยุกต์ใช้ในงานด้านธุรกิจได้ (ฺBusiness Applicability) องค์กรธุรกิจ มีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ เช่น เครือข่ายของธุรกิจธนาคาร ธุรกิจการบิน ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจหลักทรัพย์ สามารถดำเนินธุรกิจ ได้อย่างรวดเร็ว ตอบสนองความพึงพอใจ ให้แก่ลูกค้าในปัจจุบัน เริ่มมีการใช้ประโยชน์จากเครือข่าย Internet เพื่อทำธุรกิจกันแล้ว เช่นการสั่งซื้อสินค้า การจ่ายเงินผ่านระบบธนาคาร เป็นต้น
5. ความประหยัด นับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า อย่างเช่นในสำนักงานหนึ่งมีเครื่องอยู่ 30 เครื่อง หรือมากกว่านี้ ถ้าไม่มีการนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้ จะเห็นว่าต้องใช้เครื่องพิมพ์อย่างน้อย 5 - 10 เครื่อง มาใช้งาน แต่ถ้ามีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้แล้วละก้อ ก็สามารถใช้อุปกรณ์ หรือเครื่องพิมพ์ประมาณ 2-3 เครื่องก็พอต่อการใช้งานแล้ว เพราะว่าทุกเครื่องสามารถเข้าใช้เครื่องพิมพ์เครื่องใดก็ได้ ผ่านเครื่องอื่น ๆ ที่ในระบบเครือข่ายเดียวกัน
6. ความเชื่อถือได้ของระบบงาน นับเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจ ถ้าทำงานได้เร็วแต่ขาดความน่าเชื่อถือก็ถือว่าใช้ไม่ได้ ไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นเมื่อนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มาใช้งาน ทำระบบงานมีประสิทธิภาพ มีความน่าเชื่อถือของข้อมูล เพราะจะมีการทำสำรองข้อมูลไว้ เมื่อเครื่องที่ใช้งานเกิดมีปัญหา ก็สามารถนำข้อมูลที่มีการสำรองมาใช้ได้ อย่างทันที
อ้างอิง http://blog.eduzones.com/banny/3478